ยินดีต้อนรับทุกท่านสำหรับคนใจช้ำที่ถูกย่ำยีมาไม่ว่าคุณจะเป็นใครเราคือเพื่อนกัน

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ความสัมพันธ์พังได้เพราะการสื่อสาร


การสื่อสาร เป็นหัวใจหลักสำหรับสิ่งมีชีวิตทั้งหมด
เราจำเป็นต้องมีการสื่อสาร ซึ่งกันและกัน
เพื่อที่เราจะได้เรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์ และอื่นๆมากมาย

แต่การสื่อสารที่ผิดพลาด เป็นความล้มเหลวอย่างมากต่อความสัมพันธ์
การสื่อสารที่ผิดพลาดคือ ผู้ส่งสาร กับผู้รับสาร แปลความหมายหรือตีความหมาย
 เนื้อหาของสารนั้นผิดพลาด
หลายต่อหลายครั้ง ที่คนเราไม่เข้าใจกัน ก็เพราะการสื่อสารที่ล้มเหลว

สาเหตุที่การสื่อสารล้มเหลว มักมีสาเหตุมาจาก
หนึ่งไม่เปิดใจที่จะรับสารนั้น เมื่อไม่เปิดใจจึงไม่สนใจในเนื้อหา
จึงเป็นการรับสารแบบไม่ต่อเนื่อง รับเอาบางส่วน แล้วไปตีความหมายผิด
จากที่ผู้ส่งสารส่งออกไป เช่นผู้ส่งสารชูมือ 2นิ้วส่งสัญญาณออกไป
ผู้รับสารเข้าใจเอาว่า คืนนี้ ควบสอง หรือ สองอย่าง
หรือสองครั้ง เป็นต้น

แต่สองนิ้วที่ชูขึ้นของผู้ส่งสารออกไป เขาหมายถึง
วิคตอรี่ หรือชัยชนะ หรือให้สู้ประมาณนั้น แต่ผู้รับสาร 
ตีความเข้าข้างตนเองว่า คืนนี้ได้ สองอย่างเว้ยเฮ้ย
พอถึงเวลา ไม่เป็นไปตามนั้น ก็กลับมาเกลียดคนส่งสารเสียอีก 
ทั้งที่เป็นการรับสารไม่ตรงกับข้อมูลที่ต้องการส่ง

สองเงื่อนไขเวลา ของการสื่อสารหรือสามความไม่ชัดเจน หรือขาดความรู้ความเข้าใจ
ของคนส่งสารและคนรับสารไม่เท่ากันไม่ตรงกัน
และสี่ จุดที่ส่งสาร รับสารไม่เหมาะสม เช่น มึดไป สว่างไป ร้อนไป หนาวไป เป็นต้น

ดังนั้น รูปแบบของการส่งสารออกไปจึงเป็นเรื่องสำคัญ
การส่งสาณไปในลักษณะ การส่งสัญลักษณ์ ส่งสัญญาณมือ หรือ อวัจนภาษา
จึงเป็นการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ เพราะจะเกิดการตีความที่ผิดได้

หรือการส่งสารแบบลายลักษณ์อักษร
ก็เป็นอีกรูปแบบของการส่งสารที่ไม่มีคุณภาพเช่นกัน
ตัวอย่างเช่น ถ้าเราไม่จัดเจนเรื่องหลักภาษา หลักไวยยากรณ์
ก็จะทำให้เรา เขียนผิด สะกดปิด และความหมายก็จะผิดด้วย ส่งผลต่อผู้รับสารโดยตรง
เช่น เราต้องการจะเขียนคำว่า ได้แล้ว แต่เราใช้คำว่า เอาแล้ว
ผู้นับสารก็จะตีความหมายผิด เช่น สิ่งที่เธอส่งมาให้ฉันได้รับแล้ว
ก็เขียนเป็นสิ่งที่เธอส่งมาให้ฉันได้เอาแล้ว

หรือ รอตรงนี้นะเดี๋ยวฉันไปเอาแตงก่อน
แทนที่จะใช้คำว่าไปเก็บแตงก่อน
หรือไปเอาน้องก่อน แทนที่จะใช้คำว่าไปรับน้อง ไปดูแลน้อง เป็นต้น
ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างของการส่งสารที่ผิดพลาดของผู้ส่งสาร
ซึ่งไม่ระวังเรื่องภาษา จึงทำให้ผู้รับสาร ตีความหมายผิด

หรือ ถ้าเราเขียนจดหมายด้วยลายมือ ซัก หนึ่งหน้ากระดาษ เอ 4
แล้วให้คนมาคัดลอกลายมือเรา แล้วส่งต่อให้อีกคนคัดลอกเป็นทอดๆไป ถึงคนที่ 10
จากนั้นให้เรา นำต้นฉบับ มาอ่านเทียบกันกับ ลายมือคนที่ 10 ที่คัดลอก รับรองว่า เนื้อหา
ในสารนั้นจะถูกแปรเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน โดยที่ไม่ตรงกันเลย 
หรือ คนที่ 1 ต้นทาง ถึงคนที่ 10 เมื่อนำมาเทียบกันก็จะไม่เหมือนกันก็จะส่งผลต่อการตีความ
เมื่อตีความผิด ก็จะนำมาซึ่ง กระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หรือมองกันและกันผิดไป

บางครั้ง ภาษาเขียน อาจได้ผล ถ้า ผู้ส่งและผู้รับสารมีความจัดเจนในภาษาเท่ากัน
แต่ภาษาเขียน มันจะแสดงอารมณ์ไม่ได้ ผู้อ่านจะอ่านตรงๆ
และรับคำเนื้อหาของคำนั้นไปตรงๆ
ทั้งที่ความเป็นจริง ถ้าเรานั่งพูดกัน คำคำนั้นอาจไม่ใช่คำหยาบ 
และคำรุนแรงเลยก็ได้ แต่ถ้าอ่านตามตัวหนังสือแล้วมันรุนแรง เช่น
กูว่าแล้ว หรือก็ดีนะ หรือ เรื่องของมึง ไอ้ห่าลาก อีห่าลาก

ซึ่งถ้าเราอ่านและตีความตามตัวอักษร จะเห็นว่ามันหยาบมันรุนแรง
แต่ถ้าเราพูด มันจะมีอารมณ์ มีน้ำเสียงแฝงอยู่ในนั้น
 ว่าเราพูดด้วยอารมณ์หรือน้ำเสียงที่ดุดันหรือไม่

เช่นคำว่า เรื่องของมึง ถ้าเราพูดด้วยน้ำเสียง ขี้เล่น อ่อนๆ เชิงหยอกล้อ
คนฟังหรือคนรับสารก็จะรับสารตรง ถูกต้อง ว่าคนพูดไม่ได้พูดเชิง
ไม่ใยดีเรา แต่พูดในลักษณะเล่นกับเรา  เพราะมันมีน้ำเสียง มีอารมณ์ มีอากัปกริยา
อยู่ในสารที่ส่งมาพร้อมกันนั้นด้วย เป็นการ ส่งสาร รับสารแบบ โดยตรง
 สารที่ส่งออกไป จึงถูกต้องและผู้รับก็ตีความถูกต้อง
แต่ถ้าเป็นตัวหนังสือ มันจะไม่มีอารมณ์ น้ำเสียง อากัปกริยา
ผู้รับสารจึงแปลความหมายเป็นอย่างอื่นไม่เลย นอกจากตีความหมายว่า 
คนส่งสารไม่สนใจใยดีเราแล้วตัดขาดเราแล้วเป็นต้น

ความสัมพันธ์ของใครหลายคนจึงสะดุดกลางทางเพราะสื่อสารกันทาง
ภาษาเขียน เช่นทางเมล์ ทางข้อความ ทางช่องทางอื่น ที่มิใช่เป็นการพูดคุยกันโดยตรง
ความสัมพันธ์จึงมักไม่สู้จะดี และทำให้เป็นหนทางเข้าใจผิดกันได้

ความสัมพันธ์ที่ดี มักจะจอดก่อนถึงฝั่ง เพราะการสื่อสาร การรับสารที่ไม่ตรงกัน
ดังนั้น ใครรู้ตัวว่า ฉันก็เคยเป็นเช่นนี้ ก็ลองยกหูหากันอีกซักครั้ง
บางที ความรู้สึกที่ดี อาจไหลกลับคืนมาก็ได้

จริงไหมจ๊ะ คนดี รักเธออยู่นะ เธอก็รู้ใช่มั๊ย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น